Recompose (รีคอมโพส) บริษัทในนครซีแอตเทิลของสหรัฐอเมริกา ผู้ให้บริการฌาปนกิจด้วยการเปลี่ยนร่างผู้วายชนม์ให้กลายเป็นปุ๋ย เพื่อพามนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม กระบวนการดังกล่าวมีชื่อว่า Recomposition (การประกอบสร้างใหม่) และ Natural organic reduction (การลดรูปแบบอินทรีย์ตามธรรมชาติ)
วิธีการเปลี่ยนร่างผู้เสียชีวิตให้กลายเป็นปุ๋ย เริ่มต้นจากการนำร่างวางลงในภาชนะเหล็กรูปทรงหกเหลี่ยมที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ แล้วกลบด้วยเศษไม้ที่สับเป็นชิ้นเล็ก ผสมรวมกับหญ้าอัลฟาฟ่าและฟางหญ้าแห้ง สภาพแวดล้อมโดยรอบจะต้องมีอากาศถ่ายเทและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย ปุ๋ยที่ได้จากกระบวนการนี้จะมีปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มต่ำ ทำให้ปลอดภัยจนสามารถใช้ทำการเกษตรได้
การฌาปนกิจด้วยการฝังแบบเดิมอาจทำให้ดินและแหล่งน้ำใต้ดินปนเปื้อนฟอร์มาลินที่ใช้สำหรับคงสภาพศพ เช่นเดียวกับที่การฌาปนกิจด้วยการเผาได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศ ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกาได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการฌาปนกิจศพเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันถึง 8 แสนบาร์เรล ในขณะที่กระบวนการเปลี่ยนร่างผู้เสียชีวิตให้กลายเป็นปุ๋ยใช้พลังงานเพียง 1 ใน 8 ของการเผาเท่านั้น ถือเป็นกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ทั้งนี้ บริษัทฯได้ประเมินเบื้องต้นแล้วว่า ผู้ใช้บริการ 1 ราย จะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 1 ตัน
กระบวนการย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ยจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน โดยญาติสามารถนำปุ๋ยกลับไปทั้งหมด หรือมอบให้บริษัทฯนำไปใช้ประโยชน์ในโครงการอนุรักษ์ป่าไม้ธรรมชาติบนภูเขาเบลล์ (Bell Mountain) ในนครวอชิงตัน วิธีการฌาปนกิจนี้เหมาะกับผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมืองซึ่งแออัดจนหาพื้นที่สำหรับการฝังศพตามประเพณีได้ยาก
ล่าสุดกระบวนการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งนครวอชิงตันเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2021 ถือเป็นรัฐแรกที่อนุญาตให้มีการทำฌาปนกิจในรูปแบบนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ค่าบริการฌาปนกิจให้เป็นปุ๋ยอยู่ที่ประมาณ 5,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 167,000 บาท
แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับการฌาปนกิจด้วยวิธีที่รักษาสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ แต่เราก็มีวิธีการที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศด้วยการนำ Sharing Model มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
HAUPCAR (ฮ้อปคาร์) บริษัทรถเช่าแบบคาร์แชร์ริ่งรายแรกในประเทศไทยได้นำแนวคิด Sharing Society (สังคมแห่งการแบ่งปัน) มาช่วยลดมลภาวะบนท้องถนน เพราะเมื่อเรามีรถเช่าที่ถือเป็นทรัพย์สินส่วนกลางไว้สำหรับใช้งานร่วมกันได้ จะช่วยบรรเทาความแออัดบนท้องถนนได้มากกว่าการใช้รถรับจ้างสาธารณะ เพราะรถเช่าแบบคาร์แชร์ริ่งจะออกวิ่งเมื่อจำเป็นต้องใช้งานเท่านั้น ส่วนรถรับจ้างสาธารณะจะต้องวิ่งหาผู้โดยสารตลอดเวลา เป็นการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่จำเป็น
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีจำนวนรถยนต์จดทะเบียนมากกว่า 10.7 ล้านคัน ทั้งที่ถนนในพื้นที่สามารถรองรับรถยนต์ได้เพียง 1.5 ล้านคันเท่านั้น ส่งผลให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองที่รถติดมากที่สุดในเอเชีย ซึ่งเมื่อรถติดนานๆ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างไร้ประโยชน์ ในขณะที่การเช่ารถแบบคาร์แชร์ริ่งจะช่วยลดปริมาณรถยนต์บนถนนได้เป็นอย่างดี งานวิจัยพบว่าบริการคาร์แชร์ริ่งเพียง 1 คัน เทียบเท่ากับการลดปริมาณการใช้รถยนต์ถึง 5 -15 คันเลยทีเดียว
เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของ Sharing economy (เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน) หมดยุคการเป็นเจ้าของรถเอง การเช่ารถในรูปแบบของคาร์แชร์ริ่งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของรถถาวร ทำให้เกิดการใช้ทรัพากรอย่างคุ้มค่า โดยที่ทุกคนไม่ต้องแบกรับภาระค่าผ่อนรถ สามารถนำเงินไปใช้เพื่อการลงทุนรูปแบบอื่นที่สามารถสร้างรายได้ระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น การซื้อบ้านหรือคอนโด เป็นต้น
ก่อนที่เราจะเดินทางกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราอาจเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในปัจจุบันเพื่อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เริ่มไปพร้อมกันตั้งแต่วันนี้ กับ HAUPCAR
อ้างอิง
https://www.bbc.com/news/science-environment-51389084
https://www.facebook.com/BLTBangkok/posts/2534284806834180
https://themomentum.co/human-body-composting-in-washington
------------------
ดาวน์โหลดแอป : https://app.haupcar.com/getapp
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line : @haupcar
หรือคลิก http://bit.ly/LineAtHaupcar
------------------